ลิงค์ผู้สนับสนุน

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อยากเป็น จป.ต้องอบรม ที่ไหน อย่างไร ?

อ้างอิง ตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. ๒๕๔๙ ระบุถึง คุณสมบัติของ จป.วิชาชีพ ต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ครับ
(๑) สําเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
(๒) สําเร็จการศึกษาไม่ ต่ำกว่าระดับปริญญาตรี และได้ทํางานเป็นเจ้าหน้าที่ ความปลอดภัยในการทํางานระดับเทคนิคขั้นสูงมาแล้วไม่น้อยกว่าห้าปี และผ่านการอบรมและทดสอบตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรอง
(๓) เป็นหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มี นาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และผ่านการอบรมเพิ่มและทดสอบตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนดจากหน่วยงานที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานรับรองในหลักสูตรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติ หน้าที่ตามข้อ ๑๘ (๓) (๔) และ (๘) ทั้งนี้ ภายในห้าปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ

จากคุณสมบัติดังกล่าว หากไม่ได้เป็น หรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทํางานระดับวิชาชีพตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง ความปลอดภัยในการทํางานของลูกจ้าง ลงวันที่ ๓๑ มี นาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ( พูดง่ายๆ คือ จป.วิชาชีพ อบรมเดิม ) ก็ไม่สามารถจะไปอบรมจากหน่วยงานไหนแล้วได้เป็นจป.วิชาชีพ อีกต่อไป ทางเดียวที่จะได้เป็นจป.วิชาชีพ คือ ต้อง จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า เท่านั้น โดยปัจจุบันมีสถาบันการศึกษา เปิดสอน สาขาดังกล่าวอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตร 4 ปี อย่างมหาวิทยาลัยปิดทั่วไป หรือหลักสูตร ปริญญาตรีต่อเนื่อง ของมหาวิทยาลัยเปิด อย่างเช่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เป็นต้น สามารถดูรายละเอียดสถาบันที่เปิดสอน ได้ที่ เว็บไซต์ จป.ดอทคอม http://www.jorpor.com ตามลิ้งค์ ครับhttp://www.jorpor.com/W/Source.htm

จป.ย่อมาจากอะไร ?

จป.ย่อมาจากอะไร ?
คำถาม : จป.ย่อมาจากอะไร
คำตอบ : จป.ย่อมาจากคำว่า เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งเป็นตำแหน่งงานที่กฏหมายบังคับให้กิจการหรือสถานประกอบกิจการดังต่อไปนี้ ต้องมี จป.
(๑) การทําเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี
(๒) การทํา ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบํารุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่งดัดแปลง แปรสภาพ ทําให้เสีย หรือทําลายซึ่งวัตถุ หรือทรัพย์สิน รวมทั้งการต่อเรือ การให้กําเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น
(๓) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบํารุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบิน ทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ทางเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวมทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง
(๔) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า
(๕) สถานีบริการหรือจําหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ
(๖) โรงแรม
(๗) ห้างสรรพสินค้า
(๘) สถานพยาบาล
(๙) สถาบันทางการเงิน
(๑๐) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ
(๑๑) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา
(๑๒) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ
(๑๓) สํานักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (๑) ถึง(๑๒)
(๑๔) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกําหนดทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดได้จาก กฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานพ.ศ. ๒๕๔๙ โดยดาวน์โหลดเอกสารตาม ลิ้งค์http://www.shawpat.or.th/laws/labour/490621labour026.pdf

บริษัทมีสาขาอยู่คนละจังหวัด ขึ้นทะเบียน จป.คนเดียวทั้ง 2 ที่ได้หรือไม่?

คำตอบ : ไม่สามารถทำได้  เนื่องจากการเป็น จป.ของแต่ละสถานประกอบกิจการ จะดูจากการที่เราเป็นลูกจ้างของสถานประกอบการนั้นๆด้วย ( สัญญาจ้างงาน ) ว่าทำงานที่บริษัทฯ อะไร สาขาอะไร เป็นต้น   ความหมายตรงนั้นคือเราต้องทำงาน จป.เต็มเวลาให้กับสถานประกอบการตามสัญญาจ้างงานนั้นๆ  แต่ถ้าเรามีการแจ้งชื่อเป็น จป. 2 แห่ง ก็หมายความว่า เราไม่สามารถทำงาน จป.เต็มเวลาให้กับสถานประกอบการของเราได้

เจตนารมย์ ของกฏหมายตรงนี้ ผมคิดว่า กฏหมายต้องการให้แต่ละสถานประกอบกิจการ มีคนที่ทำหน้าที่ จป. อยู่ดูแลความปลอดภัย ของลูกจ้าง ให้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าทำครึ่งๆกลางๆ 

อย่างไรก็ตาม การมี จป. ของแ ต่ละสถานประกอบกิจการนั้น มันขึ้นกับ จำนวนของลูกจ้างด้วย หากเรามีสาขาเพิ่มขึ้น แต่จำนวนพนักงานไม่มากนัก ก็สามารถมี จป.ระดับอื่นๆ ได้ ไม่จำเป็นต้อง มี จป.วิชาชีพ เหมือนบริษัทแม่ที่มีคนเยอะก็เป็นได้  โดยดูได้จากตารางดังนี้ 

หมายเหตุ :  หากรูปไม่ชัดให้คลิ้กที่รูปภาพเพื่อขยาย

วันศุกร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2552